Thursday, October 30, 2008

Darren 6 month old











The first summer together. You are more fun than ever, always in a good mood.



Enjoying a sunny day August , 2008. You are getting cuter everyday.




Second vaccination at 6 months.
You did so well this visit, no fever when we got home.





Time goes by fast. A lot is happening to my baby. Eyes, brain, and body continue to grow. Dramatic changes in size and weight. Paying more attention to light , shadow, and shading of colors.


You still can't do much by yourself. You're learning how to sit up. I support you, and sometimes your back is against my body. Right now you do a lot with your hands like clasping them together. You also like grabbing something and banging it on a hard surface.


You sleep longer at night, sometimes 2 naps during the day. I am able to predict you very well now. You are very fussy when you get sleepy or tired.

When I place you on your tummy you try to reach for a toy, and usually figure out a way to scoot over and reach it. It was fun watching you try something new every month. You're rolling over more often from back to front, and back to front.

I feed you solid foods 2 times a day, morning and evening. The menu is changing and at this point I feed you more fruits and vegetables. I usually feed you one had boiled egg a day mix with some meat and vegetables.

I want to make sure you get everything for the brain and body . I find myself truly enjoying this stage of parenthood. You're getting cuter everyday. Your emotional expressions. showing more personality. I feel bonded with you very firmly.
You love to played " Pee- ka- Boo" and " Superman " you love to laugh when we do this.




Darren's development this month.


- Turn immediately to the voice from across the room


- Have more control of the head, hands , legs

- Sitting up

- Smile when people talk to you

- Cutting teeth.

- Putting everything in the mouth

พัฒนาการปกติ เดือนที่ 6 “เริ่มเรียนรู้โลกภายนอก”


ในวัยนี้เป็นการเรียนรู้โลกภายนอก พัฒนาการของเด็กแต่ละคน จะมีความหลากหลาย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่หลายคน อาจจะรู้สึกว่าลูกของตน ทำอะไรไม่ได้เท่ากับเด็กคนอื่นๆ ที่อายุไล่เลี่ยกัน ทั้งนี้เพราะเด็กแต่ละคนจะมีความสนใจ และความสามารถที่แตกต่างกันบ้าง


แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การที่ลูกทำอะไรอย่างหนึ่งได้ช้ากว่าเด็กคนอื่น (แต่อาจจะทำบางอย่างได้ดีกว่าคนอื่น) จะเป็นเครื่องบอกว่า ลูกจะมีพัฒนาการช้ากว่า เนื่องจากขึ้นอยู่กับสิ่งเร้าที่มากระตุ้น และการเลี้ยงดูเด็กในตอนนั้น


ในช่วงนี้ลูกจะเริ่ม “คืบ” ไปได้พอควร ส่วนใหญ่จะเข้าเกียร์ถอยหลัง ก่อนที่จะไปข้างหน้า และด้วยความอยากรู้อยาก เห็นอันเป็นธรรมชาติของเด็ก ก็จะทำให้เขาอยากออก “ไปเที่ยว” โดยการทำท่าทาง ให้คนอุ้มเขารู้ว่า เขาอยากจะไปข้างนอกแล้ว ซึ่งในแต่ละช่วง ลูกอาจจะคิดค้นเทคนิคใหม่ๆ ออกมาได้เอง
คุณพ่อคุณแม่ ที่มีเวลาอยู่กับลูกมาก


จะสามารถสังเกตเห็นวิวัฒนาการของลูกได้โดยง่าย ลูกจะชอบทำท่าเหมือน วิดพื้น เพื่อออกกำลังแขน และเรียนรู้การทรงตัว เช่นกันเมื่อจัดให้เขาอยู่ในท่านั่ง ก็จะเริ่มนั่งเองได้บ้าง แต่ส่วนใหญ่จะยังต้องการการช่วยประคอง มิฉะนั้นก็จะค่อยๆเอนลงไปข้างหน้า หรือข้างข้างได้ เนื่องจากจะยังไม่สามารถทรงตัวได้ดีนักนั่นเอง


ลูกจะชอบให้อุ้มจับยืน และจะชอบคว้าของที่เขาสนใจ ซึ่งจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ ผลัดตกได้ง่าย ในตอนนี้ควรให้โอกาสเขาได้อยู่บนพื้นที่นุ่ม เช่นเบาะนวม ฯลฯ เพื่อให้เขาได้หัดการใช้กำลังกล้ามเนื้อแขนขา และฝึกการทรงตัวของเขาบ้าง จะดีกว่าการอุ้มตลอดเวลา


ลูกจะชอบเอามือที่กำลังจับสิ่งของต่างๆ ขึ้นมาเขย่า โดยจะยังไม่สามารถแยกได้ว่า เสียงที่ได้ยินนั้น เกิดจากการเขย่าสิ่งของ ไม่ใช่เกิดจากมือของเขา และจะพบว่าเด็กบางคน ชอบที่จะคว้าของ และโยน หรือปล่อยลงพื้น ซ้ำแล้วซ้ำอีก เพื่อสังเกตดูปฏิกิริยาของของที่ตกลงบนพื้น และคนอื่นๆ ว่าจะมีท่าทางอย่างไร และจะส่งเสียงให้รู้ว่า เขาไม่ยอม ถ้าไม่มีการนำของที่เขาปล่อยลงพื้นนั้นมาคืนเขา หรือมีการนำของนั้นไปเก็บ ซึ่งก็เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของสิ่งของ และคนรอบข้างของลูกวิธีหนึ่ง
การมองเห็น และการใช้มือ และนิ้วเล็กๆ ของลูกจะเริ่มดีขึ้น


เขาจะสามารถมองเห็นของชิ้นเล็กๆ บนพื้นได้ดี แม้ว่าเขาจะยังไม่สามารถ เอานิ้วหยิบจับมันขึ้นมา เพราะในช่วงนี้ ลูกจะยังใช้มือทั้งมือ และชอบกำของ จะเริ่มจับของสองมือได้ และอาจเริ่มจะสลับของ จากมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่ง (transferring things)


ในช่วงนี้ ดูเหมือนเขาจะยังไม่เข้าใจคอนเซปต์ ของการให้ของที่เขามีอยู่ในมือออกไป คุณอาจจะลองเล่นกับเขา โดยการเอาของให้เขา ทีละชิ้น ให้เขากำไว้ทั้งสองมือ พอให้ชิ้นที่สาม เขาจะยังอยากได้ แต่ก็จะไม่ยอมปล่อยของ ที่มีในมือ คุณลองขอ (ทำท่าทาง และพูด “ขอ ๆ”) แล้วดูปฏิกิริยาของเขาว่า จะทำอย่างไร
ลูกจะเริ่มพูดส่งเสียงสูงต่ำได้ หลายโทนเสียง เริ่มจะรู้จักชื่อสิ่งต่างๆ ใกล้ตัว เมื่อคุณเรียกชื่อสิ่งนั้น เขาจะทำท่ามองหาได้ ลูกจะเข้าใจ “ความหมาย”ของสิ่งที่คุณพูด


โดยการเรียนรู้ท่าที และฟังโทนเสียงของคุณ ฉะนั้นเขาจะทำหน้าตา และท่าทางตอบสนอง ต่อเสียงเรียกของคุณหรือเสียงดุ ได้แตกต่างกัน

ช่วงนี้ลูกจะดูเหมือนมีอารมณ์หงุดหงิด หรืออาละวาดบางครั้ง ถ้ามีสิ่งไม่ถูกใจเขา และเช่นกัน ก็อาจจะหยุดร้อง กลายเป็นยิ้มได้ทั้งน้ำตา เมื่อมีอะไรที่น่าสนใจ น่าตื่นเต้นมาหลอกล่อ เบนความสนใจของเขา จากเรื่องเดิม

ลูกจะชอบสำรวจคุณ โดยการเอามือมาแตะหน้า แตะปากคุณ เวลาที่คุณอุ้มเขา และจะเหมือนชวนคุณเล่นกับเขาด้วย โดยการทำเช่นนี้ ลูกกำลังเรียนรู้คอนเซปต์ที่ว่า คุณคือตัวคุณ และเขาเป็นตัวเขา ไม่ใช่คนๆ เดียวกันอีก
เด็กจะชอบเล่น “จ๊ะเอ๋” หรือ การเล่น “ซ่อนหา” อย่างง่ายๆ เมื่อคุณทำท่าจะเดินห่างจากเขา ลูกจะเริ่มทำท่าทาง หรือส่งเสียงเรียก ให้คุณต้องกลับมาหาเขาใหม่ และเมื่อคุณเดินหายไปจากสายตา ลูกจะยังคงมอง และคอยให้คุณโผล่กลับมาหาเขาอีก

ในช่วงนี้ ลูกจะชอบทานอาหารเด็กที่คุณป้อน และจะเริ่มทานได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ลูกทานนมน้อยลง ทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลกลัวว่า ลูกจะไม่โต อีกทั้งการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว ก็จะไม่มากเท่าในช่วง 4 เดือนแรก ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนเครียด และพยายามยัดเยียด ให้ลูกทานนมมากขึ้น หรือบางรายกลับลดข้าวตุ๋นที่ให้ลูกลง ซึ่งไม่ควรทำดังนั้น เนื่องจากข้าวที่คุณตุ๋นให้นั้น จะมีคุณค่าทางโภชนาการ และแคลอรี่เพียงพอ ดังนั้นลูกจะไม่เกิดการขาดอาหารอย่างแน่นอน

คุณสามารถให้อาหารเสริมแทนนม 1 มื้อ เมื่อครบ 6 เดือน (ยังต้องระวังการสำลักอาหารหรือ ติดคอ และระวังเรื่องการแพ้อาหารบางอย่าง เช่น อาหารทะเล และไข่ขาวอยู่)

ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่หลายคน จะคอยเปรียบเทียบลูกของตน กับเด็กคนอื่น และเกิดความกังวล ในเรื่องต่างๆ เช่น “ทำไมฟันยังไม่ขึ้น”, “ทำไมยังไม่เกาะยืน” ฯลฯ ซึ่งเด็กในวัย 6 เดือนนี้ ส่วนใหญ่จะยังทำไม่ได้
ซึ่งอยากจะให้คำแนะนำว่า พัฒนาการของเด็กที่นำมากล่าวในที่นี้ เป็นเกณฑ์เฉลี่ย ของเด็กโดยทั่วไป แต่สำหรับเด็กแต่ละคนแล้ว แม้ว่าจะเกิด วัน เดือน ปี เดียวกัน (แม้แต่ลูกแฝด) ก็ไม่ได้หมายความว่า จะต้องมีการพัฒนาได้เท่ากัน และเด็กแต่ละคน ก็มีความชำนาญในการทำสิ่งต่างๆ ได้แตกต่างกันด้วย



Mom.

Darren 5 month old



Grandpa Ben worked on Daddy's truck

Grandma helped us take care of you



You love to look at a colorful book or toy. When I read the baby book to you most the time you seem interested and listen.










When you sit upright I support with a pillow. Your body is more erect and less floppy than last month. When you lay on your belly, you briefly lift your chest up by pushing up on your hands and forearms

It's beginning
to feel like every day you have
new baby tricks!. It's like you getting your act together.

You often grab your feet and bring them to the mouth for sucking and gnawing. You lock your knees and stand upright when I support you in standing position.

Your vision is improving now. You focus up close
and at a distance. You watch me as I leave the room, and I notice you trying to follow me with your eyes. You reach out to grab and taste everything in sight. You grip is getting stronger, your ability to reach out is getting better.

You can grab at toys hanging over your bouncy seat or under your play gym when you are on your back. Sometime I heared you trying out different sounds. I also discover you intensely watching my mouth and love looking at the mirror with a lot of attention by patting it as if to say " Who's that cute ba-bee ???

You slept better than ever this month. I put you down about 6:30 and hear from you again around 4:00 or 5:30 in the morning. What a good boy to give me a good nights rest .

Grandma Namcy and Grandpa Ben came up from California. This is Grandpa's first time seeing you. Second time for Grandma. They were here for almost 2 weeks. They helped us take care of you and your brother.

We are not going out very much anymore since we had you. It's nice sometime to have someone watching you so mom and dad can go out for a date.

Darren's development this month.

-Sitting up, but still needing a little support

-Rolling over from from to back to tummy

-Turning around when someone calls your name

- Better vision

- Learned how to put feet in the mouth

- More control of legs and feet


พัฒนาการปกติ เดือนที่ 5 “ พลิกตัวคล่อง”


ลูกควรจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 2 เท่าของแรกเกิดเมื่ออายุ 4-5 เดือน ซึ่งในช่วง 4 เดือนแรกนั้น เด็กจะโตเร็ว และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เฉลี่ยเดือนละ 800 – 1,000 กรัม แต่หลังจาก เข้าเดือนที่ 5 น้ำหนักจะเริ่มขึ้นช้าลง โดยอาจจะเพิ่มประมาณ 500-600 กรัม ต่อเดือน และต่อมา จะเหลือเพียง 200-400 กรัม ต่อเดือน หลังจาก 6 เดือนไปแล้ว

ลูกควรจะพลิกตัวคว่ำหงายได้คล่อง และชอบที่จะอยู่ในท่านั่ง มากกว่าท่านอน ลูกจะเริ่มใช้มือร่วมกับสายตาที่มองเห็นสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น จะเริ่มจับสิ่งของ บางครั้งจะกำของแน่นด้วยมือทั้ง 2 ข้าง และชอบที่จะเอาของต่างๆ ใส่เข้าไปในปากเพื่อเรียนรู้ ลูกจะยังไม่เข้าใจถึงความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งของที่เห็นอยู่ต่อหน้ากับสิ่งของที่ถูกซ่อนไว้ แม้ว่าลูกจะมองเห็นว่าคุณซ่อนของชิ้นนั้นต่อหน้าเขา

ลูกจะชอบที่จะพบปะผู้คน จะส่งเสียงต่างๆ ได้อย่างน่ารัก และยังชอบทำท่าทางเลียนแบบคนที่กำลังเล่นกับเขา ลูกจะทำเสียงสูง เสียงต่ำ และเริ่มออกเสียง ที่พอจับความหมายได้ เช่น คำว่า “ดา” “มา” ท่าทีที่คุณตอบสนองต่อการส่งเสียงของเขา จะเป็นสิ่งกระตุ้นให้ลูกสนุก กับการส่งเสียงต่างๆมากขึ้น ซึ่งช่วงนี้ ก็เป็นโอกาสในการตรวจเช็คการได้ยินของลูกไปด้วย เพราะความสามารถในการพัฒนาการด้านภาษานั้น จะขึ้นกับการได้ยินเสียงต่างๆ โดยเฉพาะเสียงพูดของคนรอบข้าง

อาหารที่ลูกทาน ก็มีความสำคัญ เพราะในช่วงนี้ จะพบว่าปริมาณของธาตุเหล็ก ที่มีสะสมมาในตอนแรกเกิด จะเริ่มลดน้อยลง จากการที่ลูกมีอัตราการเจริญเติบโตที่เร็ว ดังนั้นควรให้นมที่มีธาตุเหล็กเสริม (ซึ่งนมทารกส่วนใหญ่ที่มีขายในท้องตลาด ก็มีการเสริมธาตุเหล็กอยู่แล้ว)
และในทารกที่เลี้ยงด้วยนมมารดา อาจต้องการธาตุเหล็กเพิ่ม จากอาหารเสริม และการให้รับประทานไวตามิน ที่มีธาตุเหล็ก (ควรปรึกษาแพทย์ ก่อนพิจารณาการให้ธาตุเหล็ก) ลูกจะทานอาหารได้ดีขึ้น แต่ในการเลือกชนิดอาหารที่จะป้อนลูก ยังต้องระวังเรื่องการแพ้สารอาหารบางชนิด จึงยังต้องคอยเอาใจใส่เสมอ บางครั้งลูกจะมัวแต่สนใจที่จะเล่น
ทำให้การป้อนอาหาร ใช้เวลานานมาก และบางครั้งก็จะเริ่มอมข้าว ในรายที่ทานอาหารได้ดี จะเห็นว่าการทานนม จะน้อยลงบ้าง ซึ่งเป็นปกติ ทั้งนี้เพราะในอาหารของลูก ที่คุณป้อนนั้นจะมีคุณค่าทางโภชนาการ และมีปริมาณของแคลอรี่ และสารอาหารที่ครบถ้วนอยู่แล้ว

หลังจากนี้ไม่นาน เด็กบางคนจะเริ่มแยกแยะระหว่างคนที่เขาคุ้นเคย กับคนแปลกหน้า ทำให้เขาเริ่มกลัว หรืร้องไห้ เมื่อเจอคนแปลกหน้า ที่เรียกว่า “stranger anxiety” ลูกจะต้องการเวลาสำหรับทำความคุ้นเคย และสังเกตคนแปลกหน้า ที่เริ่มเข้ามาอยู่ใกล้เขา ถ้าคนๆนั้นไม่มีท่าทีที่จะเป็นอันตราย
หรือตรงเข้ามาหาเขาทันที ให้เวลาให้ลูกได้ยอมรับเขา ลูกก็จะไม่เกิดความกลัว แต่ถ้าคนๆนั้นทำเสียงดัง หรือมีท่าทางที่จะทำให้ลูกตกใจ ก็จะเกิดการร้อง หรือกลัวขึ้นทันที ดังนั้นควรที่ผู้ใหญ่คนอื่นๆ ที่จะเข้ามาหาคุณพ่อคุณแม่ ในขณะที่อยู่กับลูก จะเข้าใจ และพูดคุยกับคุณโดยไม่ทำท่าให้ความสนใจเด็กมากนัก เพื่อให้เด็กได้เกิดความวางใจก่อน จึงค่อยเล่นกับเด็กทีหลัง

นอกจากนี้ ลูกเริ่มที่จะทำอะไรได้หลายอย่างขึ้น คุณจึงควรเตรียมตัว ที่จะสอนให้เขารู้ถึงกฎเกณฑ์บางอย่างที่ง่ายๆ ได้ เพราะลูกพอจะรู้ จากการสังเกตสีหน้าท่าทาง และน้ำเสียงของคุณว่าคุณ “ชอบ” หรือ “ไม่ชอบ” ในสิ่งที่เขากำลังทำอยู่ ซึ่งต้องอาศัยเวลา, ความเข้าใจ และความสม่ำเสมอ ในการฝึกฝนอีกสักพักใหญ่ ก่อนที่เด็กจะเรียนรู้ว่า อะไรทำได้อะไรทำไม่ได้ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ ของการอบรมเลี้ยงดูลูกในอนาคต อย่างที่เรียกว่า “Discipline” นั่นเอง

Mom.